ลักษณะการสื่อสารในภาษาญี่ปุ่น 日本の言語コミュニケーション

ลักษณะการสื่อสารในภาษาญี่ปุ่นที่แตกต่างจากภาษาอื่นอย่างเห็นได้ชัด คือ บทบาทของคู่สนทนา หรือผู้ที่ร่วมทำการสื่อสารด้วย 水谷(1989)กล่าวไว้ว่า การสื่อสารในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะแบบ 共話(การสื่อสารไปพร้อม ๆ กันทั้งคนพูดและคนฟัง)ต่างกับภาษาทางตะวันตกที่เป็นแบบ 対話(การสื่อสารส่งต่อกันไปมา)โดยได้ยกตัวอย่างสำนวนแบบ leaving unsaid ที่พบในภาษาญี่ปุ่นดังนี้

 

1) 

ในกรณีนี้ ผู้พูด A ไม่จำเป็นต้องพูดให้จบ เพราะคู่สนทนาหรือ B จะพูดต่อให้ ซึ่งลักษณะการพูดเช่นนี้ จะไม่พบในการสื่อสารของภาษาตะวันตกที่ผู้พูดจะพูดในส่วนของตนจนจบก่อนจะส่งให้คู่สนทนาพูดต่อ ดังนั้นลักษณะการสื่อสารในภาษาญี่ปุ่นคู่สนทนาในการสื่อสารจึงมีความสำคัญมาก และมีจังหวะที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยจะสังเกตสีหน้าและท่าทีของคู่สนทนาไปด้วย ก่อนจะค่อย ๆ เสนอสิ่งที่ตัวเองจะสื่อออกไป ส่วนคู่สนทนาก็จะสังเกตท่าทีของอีกฝ่ายก่อนที่จะต่อบทสนทนานั้น

 

การสื่อสารในภาษาญี่ปุ่นจะคำนึงถึงความรู้สึกและจิตใจของคู่สนทนาเป็นอย่างมาก และในขณะเดียวกันคู่สนทนาก็จะคำนึงถึงความรู้สึกและจิตใจของผู้พูดกลับมาเช่นกัน ทำให้บางครั้ง ลักษณะการสื่อสารในภาษาญี่ปุ่นจะดูเหมือนว่ามีลักษณะอ้อมค้อม กำกวม ไม่ตรงไปตรงมา และมักจะหลีกเลี่ยง การแสดงความรู้สึกในทางลบ

 

 

กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คะตะกิริ

 

รายการอ้างอิง :

 

水谷信子(1993)「「共話」から「対話へ」」『日本語学』12-4, pp.4-10, 明治書院
水谷信子(1989)『日本語教育の内容と方法』アルク

 

รูปภาพประกอบ:

https://pixabay.com/th/illustrations/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84-4141527/

Read more