『その日本語、ちょっと変かも?』第7回 何がある?

『その日本語、ちょっと変かも?』

第7回 何がある?

 

 

ซีรีส์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนญี่ปุ่น ในแต่ละตอนเราจะยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นที่หลายคนใช้กันจนคุ้นเคย และดูเหมือนไม่ผิดไวยากรณ์ตรงไหน แต่..ทำไมคนญี่ปุ่นถึงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับอธิบายว่าที่จริงแล้วควรพูดอย่างไร

 

 

 

ตอนที่ 7 นี้ เราไปดูกันว่า สถานการณ์แบบไหนที่ใช้ประโยค 「なにが ある?」แล้วฟังดูแปลก ๆ กันค่ะ

 

 

ตอนที่ 7 มีอะไรหรือเปล่า (เกิดอะไรขึ้น)!

 

 

 

 

-คุณทานากะดูไม่ค่อยร่าเริงเลย-

เพื่อนทานากะ: 「たなかさん、かおいろが わるいね。なにが ある?」(คุณทานากะ สีหน้าแย่จังเลยนะ มีอะไรหรือเปล่า」

ทุกคนคิดว่า การพูดแบบนี้  ถูกต้องหรือไม่คะ

 

「なにが ある?」

 

“มี อะ ไร หรือ เปล่า”

เอ…ก็ตรงตามภาษาญี่ปุ่นเลยนี่นา ฟังดูแปลกยังไงกันนะ?

 

 

 

 

 

เหตุใด「なにが ある?」 จึงฟังดูแปลกเมื่อใช้ในสถานการณ์นี้

1. ความแปลกที่กริยา 「ある」

 

กริยา「ある」รูปพจนานุกรม จะใช้แสดงความหมายว่า “มี” ใน “ปัจจุบัน” หรือ “อนาคต”

การคุณทานากะทำข้อสอบไม่ได้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ดังนั้น จึงใช้รูปพจนานุกรมไม่ได้ ต้องใช้รูปอดีต

 

 

 

 

2. ความแปลกที่「なにが」

ในภาษาญี่ปุ่นมักไม่นิยมถามเรื่องที่ไม่พึงประสงค์ของคู่สนทนาโดยตรง

ดังนั้น การใช้「なに‘が’ (อะไร)」เท่ากับเป็นการถามสาเหตุที่คุณทานากะไม่ร่าเริงออกมาตรงๆ จึงอาจฟังดูไม่สุภาพนัก

ในสถานการณ์เช่นนี้เราจะใช้ 「なに‛か‘(อะไรบางอย่าง)」 เพื่อให้ไม่เฉพาะเจาะจงจนเกินไป หรือกล่าวได้ว่า เป็นการถามแบบอ้อมๆ นั่นเองค่ะ

 

 

 

 

 

ถ้าอย่างนั้น ควรพูดอย่างไรดี?

ขอแนะนำให้ทุกคนใช้รูปประโยคนี้ค่ะ

「かおいろが わるいね。なにか あった?」

 

 

 

 

 

ขอเสริมอีกนิดนะคะ

ในสถานการณ์เช่นนี้ยังมีสำนวนพูดอื่นๆ ที่ใช้ได้อีก เช่น

「どうしたの?(เกิดอะไรขึ้น)」

「だいじょうぶ?(เป็นอะไรหรือเปล่า)」

 

 

 

 

แล้วมาติดตามภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่คนญี่ปุ่นเองยังต้องฉงนในตอนต่อไปนะคะ

 

 

 

 

 

สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสารประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ facebook: สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น อักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ  https://www.facebook.com/JapaneseChula/

Read more