『その日本語、ちょっと変かも?』第16回 ご覧になりましたか

『その日本語、ちょっと変かも?』

第16回 ご覧になりましたか

 

 

 

ซีรีส์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนญี่ปุ่น ในแต่ละตอนเราจะยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นที่หลายคนใช้กันจนคุ้นเคย และดูเหมือนไม่ผิดไวยากรณ์ตรงไหน แต่..ทำไมคนญี่ปุ่นถึงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับอธิบายว่าที่จริงแล้วควรพูดอย่างไร

 

 

ตอนที่ 16 นี้ นำเสนอวิธีการใช้รูป 「ごらんに なる」ซึ่งเป็นรูปยกย่องในภาษาญี่ปุ่น

จะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันเลยค่ะ

 

 

 

 

 

สถานการณ์:

ให้หัวหน้าฝ่ายช่วยตรวจดูเอกสาร

พนักงานชาวไทย:

「ぶちょう、きのう わたしが つくった しょるいを ごらんに なりましたか。

(หัวหน้าครับ ไม่ทราบว่าดูเอกสารที่ผมทำเมื่อวานหรือยังครับ)」

 

 

ทุกคนคิดว่าการพูดแบบนี้ถูกต้องหรือไม่คะ ???

 

 

 

 

 

วิธีใช้รูป 「ごらんに なる」

 「ごらんに なる」เป็นรูปยกย่องของคำกริยา 「みる」(ดู)

รูปยกย่องเป็นรูปที่ใช้เพื่อแสดงการยกย่องหรือเคารพการกระทำของผู้กระทำกริยา (ที่เป็นคู่สนทนา) มักใช้กับการกระทำของครู ผู้บังคับบัญชา หรือคนที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรก

 

 

 

 

 

คำกริยา 「みる」มีรูปยกย่องคือ「ごらんに なる」ใช่หรือไม่ ???

อันที่จริงแล้วคำกริยา 「みる」มีหลายความหมาย
หากใช้คำกริยา 「みる」ในประโยค เช่น

 

「えいがを みる(ดูภาพยนตร์)」
「えを みる (ดูภาพเขียน)」

 

จะใช้รูปยกย่อง「ごらんに なる」นี้ได้
 

 

แต่ !!!

 

หากใช้คำกริยา 「みる」ในความหมายว่า “ตรวจสอบ” “ยืนยัน” การใช้「ごらんに なる」จะทำให้ฟังดูไม่เป็นธรรมชาติ

 

 

 

 

 

ถ้าอย่างนั้นควรพูดว่าอย่างไรดี ???

 

ขอแนะนำให้ทุกคนใช้รูปประโยคนี้ค่ะ

 

 

「みて いただけましたか。」

 

 

 

 

 

 

 

แล้วมาติดตามภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่คนญี่ปุ่นเองยังต้องฉงนในตอนต่อไปนะคะ

 

 

 

 

สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสารประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ facebook: สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น อักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ  https://www.facebook.com/JapaneseChula/

Read more