『その日本語、ちょっと変かも?』第8回 持ってさしあげましょうか

『その日本語、ちょっと変かも?』

第8回 持ってさしあげましょうか

 

 

ซีรีส์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนญี่ปุ่น ในแต่ละตอนเราจะยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นที่หลายคนใช้กันจนคุ้นเคย และดูเหมือนไม่ผิดไวยากรณ์ตรงไหน แต่..ทำไมคนญี่ปุ่นถึงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับอธิบายว่าที่จริงแล้วควรพูดอย่างไร

 

 

 

 

ทุกคนคะ เวลาเราเห็นอาจารย์ถือของหนัก ๆ แล้วเราอยากจะเสนอความช่วยเหลือ

หากใช้สำนวนนี้จะฟังดูแปลกไหมคะ

 

「もってさしあげましょうか ?」

 

 ดูแล้วก็ตรงกับประโยคภาษาไทย "ช่วยถือให้ไหมครับ/ค่ะ"

 

เอ…แล้วจะแปลกตรงไหน

 

ถ้าอยากรู้แล้ว ไปติดตามในตอนที่ 8 นี้ กันเลยค่ะ

 

 

 

 

 

ตอนที่ 8 "ถือให้ไหมครับ"

 

 

 

 

 

สถานการณ์: เราเห็นคุณยายท่านหนึ่งถือของหนักจึงพูดออกไปว่า

「おもそうですね。もって さしあげましょうか。」

(ท่าทางจะหนักนะครับ ผมช่วยถือให้ไหมครับ)

 

ทุกคนคิดว่า การพูดแบบนี้ถูกต้องหรือไม่คะ?

「もって さしあげましょうか。」

 

ถือ=もちます

 

ทำ..ให้= Vてさしあげます

เอ…ก็ตรงตามภาษาญี่ปุ่นเลยนี่นา ฟังดูแปลกยังไงกันนะ?

 

 

 

 

 

วิธีใช้「さしあげます」

「さしあげます」เป็นรูปถ่อมตัวของ 「あげます」
 

 

ใช้เมื่อเป็นการ “ให้สิ่งของแก่ผู้ที่มีสถานภาพสูงกว่า” เช่น

わたしは いもうとに おかしを あげます。
ฉันให้ขนมน้องสาว

 

わたしは せんせいに おかしを さしあげます。

ฉันให้ขนมอาจารย์

 

 

 

 

 

วิธีใช้「Vてあげます」
 

 

ใช้ในความหมายว่า “ทำกริยาบางสิ่งบางอย่างให้ผู้ใดผู้หนึ่ง” = ทำ…ให้…
 

 

แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ…..
การใช้รูปประโยค「Vてあげます」จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึง “การทวงบุญคุณ

 

” จึงควรระมัดระวังในการใช้

 

 

 

 

 

ลองดู 2 ประโยคที่เจ้านายพูดกับลูกน้องเปรียบเทียบกันนะคะ

แบบแรก

 

A 「おごるよ」

แบบหลัง

B 「おごってあげるよ」

 

ภาษาไทยแปลได้ว่า “เดี๋ยวฉันเลี้ยงเอง” ทั้งคู่
แต่…ความรู้สึกของลูกน้องกลับต่างกัน

นั่นคือ

เมื่อใช้สำนวน「おごってあげるよ」
ลูกน้องจะรู้สึกว่า “เอ๊ะ นี่เราต้องตอบแทนอะไรเจ้านายด้วยหรือเปล่า”

 

 

 

 

 

นอกจากนี้ 

ถึงแม้「さしあげます」จะเป็นรูปถ่อมตัวของ「あげます」ก็ตาม แต่การเปลี่ยนจาก「Vてあげます」เป็น 「Vてさしあげます」ก็ไม่ได้เป็นการพูดถ่อมตัวที่เหมาะสมเสมอไป
 

 

เพราะความหมายแฝงของเรื่องบุญคุณที่เกิดขึ้นในสำนวน「Vてあげます」ยังคงหลงเหลืออยู่นั่นเองค่ะ

 

 

 

 

 

ถ้าอย่างนั้น ควรพูดอย่างไรดี?

ขอแนะนำให้ทุกคนใช้รูปประโยคนี้ค่ะ

 

「おもちしましょうか。」

 

 

 

 

 

อย่าเพิ่งถอดใจไปนะคะว่าสำนวน「Vてさしあげます」ที่อุตส่าห์เรียนมาจะไม่ได้เอาไปใช้ เพราะอันที่จริงเราสามารถใช้เวลาเล่าเรื่องให้คนอื่นฟังได้ ในกรณีที่เราได้ทำกริยาบางอย่างให้ผู้ที่มีสถานภาพสูงกว่า เช่น
 

 

「けさ、たなかせんせいに おあいしたとき、にもつを もって さしあげました。」

 

(เมื่อเช้าเราช่วยถือของให้อาจารย์ทานากะตอนที่เจออาจารย์)
 

 

 

 

 

แล้วมาติดตามภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่คนญี่ปุ่นเองยังต้องฉงนในตอนต่อไปนะคะ

 

 

 

 

สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสารประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ facebook: สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น อักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ  https://www.facebook.com/JapaneseChula/

Read more