『その日本語、ちょっと変かも?』 第3回 病気

『その日本語、ちょっと変かも?』

第3回 病気

 

 

ซีรีส์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนญี่ปุ่น ในแต่ละตอนเราจะยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นที่หลายคนใช้กันจนคุ้นเคย และดูเหมือนไม่ผิดไวยากรณ์ตรงไหน แต่..ทำไมคนญี่ปุ่นถึงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับอธิบายว่าที่จริงแล้วควรพูดอย่างไร

 

 

ตอนที่ 3 นี้ นำเสนอวิธีการใช้คำว่า "ไม่สบาย" ในภาษาญี่ปุ่น ว่าควรจะใช้คำศัพท์หรือสำนวนอะไร

จะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันเลยค่ะ

 

 

 

ตอนที่ 3 พูดว่า “ไม่สบาย“ อย่างไรดี

 

 

 

 

 

–ในห้องเรียน–

อาจารย์: เอาล่ะ เรามาเริ่มเรียนกัน แต่เอ๊ะ! เอซังไม่อยู่เหรอ เป็นอะไรหรือเปล่าคะ”
นักเรียน: 「Aさんは びょうきです。」(คุณเอ "ป่วย" ค่ะ)

อุ้ย…ทำไมอาจารย์ถึงทำหน้าตกใจขนาดนั้น!? พูดแบบนี้แปลกยังไงเหรอ?

 

 

 

 

 

คำว่า「びょうき」คือการเจ็บป่วยจนถึงขั้นที่ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบปกติได้

ดังนั้น เมื่อคนญี่ปุ่นได้ยินเราพูดว่า「びょうきです。」ก็จะรู้สึกกังวลและเป็นห่วงขึ้นมานั่นเองค่ะ(•◡•)

 

 

 

 

 

 

แล้วอาการป่วยแบบนี้เรียกว่า病気(びょうき)ได้หรือเปล่า

「あたまが いたい」=ปวดหัว
「おなかが いたい」=ปวดท้อง
「かぜを ひいた」=เป็นหวัด
「すこし ねつが ある」=มีไข้เล็กน้อย

อาการป่วยที่กล่าวมาข้างต้นไม่มีชื่อโรคที่เฉพาะเจาะจง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน อีกทั้งยังหายป่วยได้ในเวลาสั้นๆ จึง ไม่ควรใช้คำว่า 病気(びょうき)ค่ะ

 

 

 

 

ถ้าอย่างนั้น เวลาแบบนี้ควรพูดว่าอย่างไรดี

เวลาที่เราไม่สบายเล็ก ๆ น้อย ๆ คือมีอาการอย่างในสไลด์ก่อนหน้า ขอแนะนำให้ใช้ประโยคนี้แทนค่ะ(ᵔᴥᵔ)

「Aさんは たいちょうが わるいそうです。」

แล้วมาติดตามภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่คนญี่ปุ่นเองยังต้องฉงนในตอนต่อไปนะคะ 

 

 

 

 

สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสารประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ facebook: สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น อักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ  https://www.facebook.com/JapaneseChula/

Read more