『その日本語、ちょっと変かも?』第6回 田中さんは〇〇と思います

『その日本語、ちょっと変かも?』

第6回 田中さんは〇〇と思います

 

 

ซีรีส์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนญี่ปุ่น ในแต่ละตอนเราจะยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นที่หลายคนใช้กันจนคุ้นเคย และดูเหมือนไม่ผิดไวยากรณ์ตรงไหน แต่..ทำไมคนญี่ปุ่นถึงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับอธิบายว่าที่จริงแล้วควรพูดอย่างไร

 

 

 

 

「たなかさんは、じぶんだけ『F』だと おもいます。」

“คุณทานากะคิดว่ามีแต่ตัวเองที่ได้ F”

 

ทุกคนคิดว่าประโยคนี้ในภาษาญี่ปุ่นแปลกไหมคะ ?

 

เอ…ดูจากประโยคภาษาไทยแล้วก็ไม่แปลกใช่ไหมคะ

 

แต่ลองไปติดตามกันดูดีไหมคะ ว่าแปลกยังไง

 

ไปกันเลยค่ะ

 

 

 

 

ตอนที่ 6

คุณทานากะทำข้อสอบไม่ค่อยได้…

 

 

 

 

 

 

-หลังสอบเสร็จ-

เพื่อนคุณทานากะ A: 「たなかさん、げんきが ありませんね。テストで しっぱいしたんでしょうか。(คุณทานากะไม่ค่อยร่าเริงเลย คงเพราะทำข้อสอบไม่ได้หรือเปล่านะ」
เพื่อนคุณทานากะ B:「たなかさんは、じぶんだけ『F』だと おもいます。(คุณทานากะคิดว่ามีแต่ตัวเองที่ได้ F)」
 

 

ทุกคนคิดว่า การพูดแบบนี้ถูกต้องหรือไม่คะ

「たなかさんは、じぶんだけ『F』だと おもいます。」

“คุณทานากะคิดว่ามีแต่ตัวเองที่ได้ F”

เอ…ภาษาไทยก็พูดได้นี่นา ฟังดูแปลกยังไงกันนะ?

 

 

 

 

 

「~とおもいます」ใช้แสดงความคิดของใครกันแน่!?
 

 

 

วิธีใช้ 「~とおもいます」
 

 

รูปประโยคบอกเล่า「~とおもいます」ใช้เมื่อต้องการพูดถึง “ความคิดของตัวผู้พูดเอง” เท่านั้น

 

 

รูปประโยคคำถาม「~とおもいますか」「どうおもいますか」ใช้ถามความคิดเห็นของผู้ฟัง

 

 

 

 

 

 

  • ดังนั้น เมื่อต้องการเล่าถึงความคิดหรือความเห็นของบุคคลที่ 3 จะไม่สามารถใช้「~とおもいます」

    กรณีนี้จะใช้ 「~とおもっています」แทน

 

 

 

 

ถ้าอย่างนั้น ควรพูดอย่างไรดี?

ขอแนะนำให้ทุกคนใช้รูปประโยคนี้ค่ะ

 

「たなかさんは、じぶんだけ『F』だと おもっています。」

 

 

 

 

 

แล้วมาติดตามภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่คนญี่ปุ่นเองยังต้องฉงนในตอนต่อไปนะคะ

 

 

สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสารประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ facebook: สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น อักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ  https://www.facebook.com/JapaneseChula/

Read more