ตัวอักษรโรมัน ローマ字

ตัวอักษรโรมันถือเป็นตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่ใช้อย่างแพร่หลาย คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นบางคำ จะต้องเขียนเป็นตัวอักษรโรมันเท่านั้น เช่น Yシャツ หรือ CD เป็นต้น บางครั้งตัวอักษรโรมันจะถูก นำมาใช้เพื่อเขียนแทนเสียง เช่น ใช้เขียนแสดงเสียงอ่านชื่อชาวญี่ปุ่นที่ปรากฏในพาสปอร์ต หรือ แสดงเสียงอ่านชื่อสถานีรถไฟที่ป้ายแต่ละสถานี ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นบางคนที่ไม่ต้องการเรียนตัวอักษรญี่ปุ่นก็จะใช้ตัวอักษรโรมันในการอ่านเสียงภาษาญี่ปุ่น

 

ระบบตัวอักษรโรมันปัจจุบันแบ่งออกเป็นสองระบบ คือ ระบบเฮะบง(ヘボン)และระบบคุนเระอิ(訓令)ส่วนใหญ่ทั้งสองระบบจะเขียนเหมือนกัน จะต่างกันเฉพาะบางตัวเท่านั้น ตารางต่อไปนี้แสดงตัวอักษรโรมันทั้งสองระบบ ตัวที่เขียนต่างกันนั้น ตัวบนจะเป็นระบบเฮะบง ตัวล่างเป็นระบบคุนเระอิ 

 

 

 

สำหรับวิธีการเขียนเสียงตัวอักษร ん เสียงสระยาวและเสียงกัก ทั้งสองระบบก็มีวิธีการเขียนที่ต่างกัน ดังนี้

 

 

ผู้เริ่มใช้ระบบเฮะบงคือชาวอเมริกันชื่อ J.C Hepburn ส่วนระบบคุนเระอิเกิดขึ้นเนื่องจากความคิดที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ใช้ระบบเฮะบงและระบบที่เรียกว่าระบบนิฮง(日本)ความขัดแย้งทำให้เกิดการ เสนอระบบคุนเระอิที่พยายามจะรักษาข้อดีของทั้งสองระบบไว้ ปัจจุบันในการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น จะใช้ระบบเฮะบงหรือระบบเฮะบงที่มีการดัดแปลงเล็กน้อย ส่วนในประเทศญี่ปุ่นชื่อสถานีรถไฟของรัฐบาล ชื่อถนน รวมทั้งชื่อชาวญี่ปุ่นที่ปรากฏในหนังสือเดินทางส่วนใหญ่จะใช้ระบบเฮะบงเขียนแสดงเสียง แต่ในการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมของคนญี่ปุ่นนิยมใช้ระบบคุนเระอิ ด้วยเหตุนี้คนญี่ปุ่นบางคน จึงถนัดการใช้ระบบคุนเระอิในการเขียนแทนเสียง

 

กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คะตะกิริ

 

รายการอ้างอิง :

 

阿久津智(2005)「ローマ字表記」社団法人日本語教育学会(編)『新版日本語教育事典』大修館書店
 

Read more