『その日本語、ちょっと変かも?』
番外編 私はハンバーガー
ซีรีส์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนญี่ปุ่น ในแต่ละตอนเราจะยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นที่หลายคนใช้กันจนคุ้นเคย และดูเหมือนไม่ผิดไวยากรณ์ตรงไหน แต่..ทำไมคนญี่ปุ่นถึงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับอธิบายว่าที่จริงแล้วควรพูดอย่างไร
ตอนนี้เสนอเป็นตอนพิเศษในซีรีส์นี้เลยค่ะ
ลองไปติดตามเนื้อหากันเลยนะคะ
สถานการณ์:สั่งอาหารที่ร้านอาหาร
พนักงานเสิร์ฟ: จะสั่งอะไรดีครับ
คุณเอ: ขอพาสต้าซอสมะเขือเทศค่ะ
คุณบี: ดิฉัน แฮมเบอร์เกอร์
(わたしは ハンバ―ガ。)
หา!? หมายถึง ฉัน “เป็น” แฮมเบอร์เกอร์เหรอเนี่ย ??
- ประโยค「わたしは ハンバ―ガ。」ไม่ได้แปลว่า “ฉันเป็นแฮมเบอร์เกอร์”
รูปประโยค 「AはBだ。」เป็นรูปประโยคเริ่มแรกที่เรียน
- ดังเช่นในประโยคที่ต้องการพูดว่า
ฉันเป็นนักเรียน=「わたしは がくせいだ。」อย่างไรก็ตาม รูปประโยค「AはBだ。」ก็ไม่ได้มีความหมายแค่ A=B เพียงอย่างเดียว
ในการใช้รูปประโยค「AはBだ。」
คำว่า 「だ」ของ「Bだ」นั้น สามารถสื่อถึงคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น
A:このバスは どこへいきますか?
(รถเมล์คันนี้ไปไหนคะ)
B:このバスは しんじゅくです。
(รถเมล์คันนี้ ชินจูกุ)
”ชินจูกุ” ในที่นี่หมายถึง “ไปชินจูกุ” โดยละกริยา “ไป”
พูดเพียงแค่ชินจูกุ
ถ้างั้นเราลองมาดูกันมั้ยคะว่า ประโยค 「AはBだ。」เหล่านี้สามารถแปลว่าอะไรได้บ้าง
(เฉลยอยู่ในสไลด์แผ่นถัดไปค่ะ)
ตอบถูกกันไหมคะ
จบซีรีส์นี้แล้ว รอติดตามเรื่องราวภาษาญี่ปุ่นที่น่าสนใจในซีรีส์ต่อๆ ไปได้นะคะ
สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสารประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ facebook: สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น อักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ https://www.facebook.com/JapaneseChula/