『その日本語、ちょっと変かも?』第10回 100バーツだけある

『その日本語、ちょっと変かも?』

第10回 100バーツだけある

 

 

ซีรีส์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนญี่ปุ่น ในแต่ละตอนเราจะยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นที่หลายคนใช้กันจนคุ้นเคย และดูเหมือนไม่ผิดไวยากรณ์ตรงไหน แต่..ทำไมคนญี่ปุ่นถึงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับอธิบายว่าที่จริงแล้วควรพูดอย่างไร

 

 

ตอนที่ 10 นี้ นำเสนอวิธีการใช้ 「だけ」 และ 「しか」

จะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันเลยค่ะ

 

 

 

สถานการณ์: ผู้หญิงสองคนกำลังคุยกันตอนเดินช็อปปิ้ง 

เพื่อนญี่ปุ่น: ช็อปปิ้งสนุกจังเลย♪ เดี๋ยวหลังจากนี้เราไปกินเมนูใหม่ของ Sutaba (ชื่อย่อสไตล์ญี่ปุ่นของร้านกาแฟชื่อดัง) มั้ย

เพื่อนคนไทย:「う~ん・・・100バーツだけあるから、スタバは行けないかも・・・・・・」
(อืม…มีแค่ร้อยเดียวเองคงจะไป Sutabaไม่ได้หรอก…)

ทุกคนคิดว่า การพูดแบบนี้ถูกต้องหรือไม่คะ

เอ…だけ ก็แปลว่า “แค่” นี่นา ทำไมถึงฟังดูแปลกล่ะ?

 

 

 

 

 

จะใช้ だけ? หรือ しか?ดี

「だけ」 และ 「しか」ใช้ในความหมายของการจำกัดขอบเขตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม 「だけ」ไม่มีนัยที่แสดงความรู้สึกเสียดาย เสียใจ

ดังนั้นในกรณีที่ข้อความส่วนหลังมีเนื้อหาเชิงลบจึงใช้สำนวน 「しか~ない」

 

 

 

 

 

ตัวอย่างการใช้だけกับしか

「~だけ」

おかねを つかい すぎて しまわない ように、きょうは 500バーツだけ もってきた。
(วันนี้เอาเงินมาแค่ 500 บาท เพื่อจะได้ไม่ใช้เงินมากเกินไป)

 

「しか~ない」

500バーツしかなかったので、くつは かえなかった。
(มีเงินแค่ 500 บาท เลยซื้อรองเท้าไม่ได้) 

 

 

 

 

 

ถ้าอย่างนั้น ควรพูดอย่างไรดี?

ขอแนะนำให้ทุกคนใช้รูปประโยคนี้ค่ะ

「100バーツしかないから、スタバは行けないかも」 

 

 

 

 

 

ความรู้เสริม

สำนวน 「だけしか」ใช้ได้เมื่อไร

สำนวน 「だけしか」สามารถใช้ได้เมื่อต้องการคงความหมายเชิงลบ แต่อยากเน้นความหมายของการจำกัดขอบเขต และต้องใช้กับรูปปฏิเสธเช่นเดียวกับสำนวน「しか~ない」เสมอ เช่น ประโยคต่อไปนี้

「きのうはいそがしくて3じかんだけしかねられなかった。」

(เมื่อวานยุ่งมากเลยได้นอนแค่ 3 ชั่วโมงเอง) 

 

 

 

 

แล้วมาติดตามภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่คนญี่ปุ่นเองยังต้องฉงนในตอนต่อไปนะคะ

 

 

 

 

สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสารประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ facebook: สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น อักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ  https://www.facebook.com/JapaneseChula/

Read more