『その日本語、ちょっと変かも?』 第18回 パンダが見えます

『その日本語、ちょっと変かも?』

第18回 パンダが見えます

 

 

ซีรีส์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนญี่ปุ่น ในแต่ละตอนเราจะยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นที่หลายคนใช้กันจนคุ้นเคย และดูเหมือนไม่ผิดไวยากรณ์ตรงไหน แต่..ทำไมคนญี่ปุ่นถึงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับอธิบายว่าที่จริงแล้วควรพูดอย่างไร

 

 

 

ตอนที่ 18 นี้ ต่อเนื่องมาจากตอนที่ 17 ค่ะ 

นำเสนอวิธีการใช้กริยา 「見えます」

ไปติดตามเนื้อหากันได้เลยค่ะ

 

 

 

 

 

 

สถานการณ์: กำลังคุยกับเพื่อน

เพื่อน A: 「らいしゅう とうきょうへ いくんだ。 どうぶつが すきなんだけど、どこか おすすめは ある?

(อาทิตย์หน้าเราจะไปโตเกียวล่ะ เราชอบสัตว์ B มีที่ไหนแนะนำไหมจ๊ะ)」

 

เพื่อน B: 「うえのどうぶつえんに いけば、パンダが みえるよ。

(ถ้าไปสวนสัตว์อุเอะโนะ จะได้เห็นแพนด้านะ)」

 

ทุกคนคิดว่าการพูดแบบนี้ถูกต้องหรือไม่คะ???

 

 

 

 

 

 

「~がみえます」 ใช้เมื่อไร ??

 

อย่างที่เคยอธิบายไปในตอนที่ 17 แล้วว่า

「~がみえます」 ใช้เวลาที่ผู้พูด “ไม่ได้ตั้งใจ” ที่จะดู/มอง

แต่บังเอิญสิ่งดังกล่าวปรากฏขึ้นมาในสายตาเอง
 มีลักษณะพิเศษคือ จะใช้เวลาที่สิ่งที่จะดู/มองปรากฏขึ้นอยู่ตรงหน้าเรียบร้อยแล้ว

 

 

 

 

 

 

「~がみられます」 ใช้เมื่อไร ??

 

「みられます」คือกริยารูปสามารถของ「みます」
 ไม่ใช้ในความหมายว่า “เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ” เหมือนอย่าง「~がみえます」
 แต่ใช้เวลาที่พูดถึงความสามารถ/หรือความเป็นไปได้/โอกาสที่จะ “สามารถดูได้”

 

 

 

 

 

 

ถ้าอย่างนั้นควรพูดว่าอย่างไรดี ???

 

 

ขอแนะนำให้ทุกคนใช้รูปประโยคนี้ค่ะ

「うえのどうぶつえんに いけば、パンダが みられるよ。」

 

 

 

 

 

 

 

แล้วมาติดตามภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่คนญี่ปุ่นเองยังต้องฉงนในตอนต่อไปนะคะ

 

 

 

 

สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสารประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ facebook: สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น อักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ  https://www.facebook.com/JapaneseChula/

 

Read more