『その日本語、ちょっと変かも?』第4回 先生も食べたいですか

『その日本語、ちょっと変かも?』

第4回 先生も食べたいですか

 

 

ซีรีส์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่สร้างความประหลาดใจให้แก่คนญี่ปุ่น ในแต่ละตอนเราจะยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นที่หลายคนใช้กันจนคุ้นเคย และดูเหมือนไม่ผิดไวยากรณ์ตรงไหน แต่..ทำไมคนญี่ปุ่นถึงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับอธิบายว่าที่จริงแล้วควรพูดอย่างไร

 

 

หากต้องการถามคู่สนทนาที่อาวุโสกว่าตัวเองเป็นภาษาญี่ปุ่น ทุกคนจะใช้สำนวนอะไรกันคะ ?

.

.

.

 

ถ้าอยากรู้แล้ว ติดตามได้ในตอนที่ 4 นี้เลยค่ะ

 

 

 

 

ทุกคนคิดว่า การพูดแบบนี้ถูกต้องหรือไม่คะ❓

อาจารย์ : อุ๊ย ขนมน่าทานจังเลยนะจ๊ะ
นักเรียน: 「あ!せんせいも たべたいですか?」
“อาจารย์อยากทานด้วยไหมคะ”

เอ…ภาษาไทยก็พูดได้นี่นา ฟังดูแปลกยังไงกันนะ?

 

 

 

 

 

การถามบุคคลที่มีสถานภาพสูงกว่าตนเองด้วยรูป
「~たいですか」อาจฟังดูเสียมารยาทเหรอ!?

 

รูปประโยค「~たいです」ใช้แสดงความต้องการ หรือความปรารถนาก็จริง

แต่….

 

 

ภาษาญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการพูดที่เป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งคือ “ไม่นิยมถามความต้องการ หรือความปรารถนาของบุคคลที่มีสถานภาพสูงกว่าอย่างเช่น อาจารย์ หรือลูกค้า ออกมาตรงๆ นอกจากนี้ ก็ไม่ควรใช้พูดกับคนที่ไม่สนิทด้วยเช่นกัน

 

 

รูป「~たいですか」สามารถใช้กับคนที่สนิทอย่างเช่น สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนได้ ไม่มีปัญหาค่ะ

 

 

 

 

 

ถ้าอย่างนั้น ควรพูดอย่างไรดี?

ขอแนะนำให้ทุกคนใช้รูปประโยคนี้ค่ะ

「せんせいも いかがですか。」

 

 

 

 

 

 

 

เพิ่มเติมอีกนิดนะคะ

วิธีพูดแสดงความต้องการ หรือความปรารถนาในภาษาญี่ปุ่น สรุปง่ายๆ ได้ดังนี้

①กรณีแสดงความต้องการ หรือความปรารถนาของผู้พูดเอง (บุรุษที่ 1)

———>>>กริยา ใช้รูป Vます+たい 

เช่น (わたしは)にほんへ いきたいです。
(ฉันอยากไปญี่ปุ่น)

 

———>>>คำนาม เช่น สิ่งของ ใช้รูป Nがほしい

เช่น(わたしは)おおきい うちが ほしいです。
(ฉันอยากได้บ้านหลังใหญ่)

 

✐หรือใช้ถามผู้ฟัง (บุรุษที่ 2) ได้

เช่น เพื่อน A:ラーメンが たべたい?
(อยากกินราเมงมั้ย)
เพื่อน B:ああ、いいね。

 

 

 

 

 

 

แล้วมาติดตามภาษาญี่ปุ่นของคนไทยที่คนญี่ปุ่นเองยังต้องฉงนในตอนต่อไปนะคะ

 

 

 

สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจ ข่าวสารประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ facebook: สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น อักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือ  https://www.facebook.com/JapaneseChula/

Read more