สถาปัตยกรรมแบบฌินเด็นสุกุริและแบบโฌะอินสุกุริ 寝殿造・書院造

ในสมัยสมัยเฮอัน รูปแบบการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของคุเงะ(公家)หรือ ชนชั้นขุนนางในราชสำนัก เป็นสถาปัตยกรรมแบบที่เรียกว่า ฌินเด็นสุกุริ(寝殿造)แต่ตั้งแต่ปลายสมัยเฮอันเป็นต้นมา เหล่านักรบเริ่มมีอำนาจมากขึ้น กลายเป็นชนชั้นปกครองแทนที่ขุนนางในราชสำนัก การเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มส่งอิทธิพลในด้านสถาปัตยกรรมด้วย สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นคือแบบ โฌะอินสุกุริ(書院造 )โฌะอินสุกุริได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน(ในสมัยนั้นตรงกับสมัยราชวงศ์ซ้อง)อย่างเห็นได้ชัด

 

ส่วนประกอบที่สำคัญสามประการของโฌะอินสุกุริ ได้แก่ ส่วนที่ประดับภาพม้วนและที่วางแจกันจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่นหรือโทะโกะโนะมะ(床の間)พื้นที่ด้านข้างโทะโกะโนะมะ ขนาดความสูงเท่าโต๊ะเขียนหนังสือญี่ปุ่นใช้เป็นชั้นวางหนังสือ พร้อมช่องหน้าต่างหรือท์ซุเกะโฌะอิน(付書院)และชั้นเล่นระดับหรือชิงะอิดะนะ(違い棚)โทะโกะโนะมะเป็นที่สำหรับภาพเขียนจีน เครื่องเขียนจีน อุปกรณ์ชงชา ฯลฯ ของที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน เรียกว่า คะระโมะโนะ(唐物)ซึ่งถือว่าเป็นของที่มีค่าอย่างมาก การมีอุปกรณ์เหล่านี้ไว้ในครอบครองและนำมาประดับจึงเป็นการแสดงถึงอำนาจบารมีอย่างหนึ่ง ตั้งแต่ช่วงกลางสมัยเอะโดะ ในบ้านของครอบครัวเกษตรกรที่มั่งคั่งหรือชาวเมืองก็เริ่มเห็นอิทธิพลของโฌะอินสุกุริแล้ว นอกจากนี้ความสูงของพื้นบ้านแบบโฌะอินสุกุรินั้นยังแสดงถึงสถานะทางสังคมของเจ้าของบ้านด้วย กล่าวคือยิ่งเป็นผู้ที่มีสถานะทางสังคมสูงก็จะต้องนั่งในที่สูงกว่าผู้ที่สถานะทางสังคมต่ำกว่า

 

โฌะอินสุกุริแบบที่มีห้องประกอบพิธีชงชาด้วย เรียกว่า ซุกิยะสุกุริ(数寄屋造)ที่ปราสาทคะท์ซุระริกีว ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองเกียวโตนั้น ส่วนสำคัญของปราสาทสร้างตามแบบของซุกิยะสุกุริ(จึงถูกเรียกว่าโฌะอินสุกุริแบบแบบซุกิยะด้วย)โดยรวมแล้วกฎเกณฑ์ต่าง ๆ จะไม่เข้มงวดเท่ากับแบบโฌะอินสุกุริ กล่าวคือมีความเรียบง่ายและสามารถออกแบบสร้างได้อย่างอิสระ เมื่อเทียบกับโฌะอินสุกุริแล้วจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ออกแบบจะสามารถออกแบบได้ตามใจชอบมากกว่า

 

 อิวะอิ ฌิเงะกิ

Read more